|
คือ การรับแฟกซ์ผ่านทางเมล์ (E-mail) มีหลักการทำงานง่ายๆดังนี้ครับ |
1. ลูกค้ากดเบอร์ เพื่อส่งเอกสารแฟกซ์เข้ามาที่บริษัทของเรา |
2. ระบบจะตรวจสอบว่ามี อีเมล์ตั้งค่าไว้สำหรับรับไฟล์เอกสารแฟกซ์หรือไม่ ถ้ามีก็จะทำการส่งไฟล์นั้นๆ ไปยังอีเมล์ 1 ฉบับ
- สำหรับวิธีตั้งค่าอีเมล์ ดูเพิ่มเติม |
3. ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปดูแฟกซ์ได้จากอีเมล์ของตัวเองได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน |
4. การระบุผู้รับแฟกซ์ สามารถกำหนดได้ 3 วิธีคือ
4.1 การระบบผู้รับจากเบอร์ต่อส่วนตัว (Ext.) เช่น นาย A มีเบอร์ต่อส่วนตัวเป็น 001 เมื่อลูกค้าแฟกซ์เข้ามา และมีการกดเบอร์ต่อ 001 แฟกซ์ฉบับนั้น จะถูกส่งไปที่อีเมล์ของนาย Aโดยตรง ผู้ใช้งานท่านอื่นๆ จะไม่ได้รับแฟกซ์ฉบับนั้น นอกจากนาย A และผู้ดูแลระบบ เพิ่มเติม.. |
4.2 การระบุผู้รับจาก CSID (ย่อมาจาก Calling Station ID): นั้นคือการระบุผู้รับจากชื่อเครื่องของแฟกซ์ของลูกค้า เช่น บริทัษABC เครื่องแฟกซ์ของบริษัท ตั้งชื่อว่า Z มีแต่นาย A ติดต่อและรับแฟกซ์จากเจ้านี้เป็นประจำ และบริษัทก็ส่งแฟกซ์หาแต่นายAเท่านั้น แบบนี้เราสามารถระบุได้เลยว่า ถ้าแฟกซ์มาจากบริษัท ABC ให้เข้าหานาย A ได้เลย
...แต่...ถ้ากรณีบริษัทหรือลูกค้าของเราไม่ได้ตั้งชื่อเครื่องแฟกซ์ล่ะ....เออออยุ่งล่ะสิทีนี้
แบบนี้เราจะใช้การตั้งค่า CSID ไม่ได้ ต้องใช้ CID แทน เพิ่มเติม.. |
4.3 การระบุผู้รับจาก CID (ย่อมาจาก: Caller ID) หรือเรียกอีกอย่างว่า "บริการโชว์เบอร์" ของลูกค้าที่โทรเข้ามา อันนี้เราต้องไปขอเปิดบริการเพิ่มเติมจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่เราใช้งานยู่ เช่น TOT True เป็นต้น แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการเปิดใช้บริการนะครับ
ที่นี้เราก็หมดห่วงเรื่องลูกค้าของเราไม่ตั้งชื่อเครื่องแฟกซ์ เพราะทุกๆเบอร์ที่แฟกซ์เข้ามาจะโชว์เบอร์ ทำให้ระบบสามารถตรวจสอบว่ามาจากเบอร์ไป ทีนี้เราก็สามารถระบุผุ้รับได้แบบไม่พลาด ไม่ว่าจะมีสักกี่บริษัท เพิ่มเติม.. |
|
|
การนำไปประยุคใช้งาน.. |
กรณี เบอร์ต่อ(Ext.)มีผู้ใช้งานหลายๆท่านใช้ร่วมกัน เช่น อาจจะเป็นเบอร์ต่อของแผนก แล้วภายในแผนกนั้นๆก็มีผู้ใช้งานหลายท่าน เราสามารถเพิ่มอีเมล์ได้โดยการใช้ "," ขั้นระหว่างแต่ละอีเมล์
และหากจะให้สะดวกกว่านั้น ให้ใช้ E-mail Group เมล์เดียวก็จบครับ
|
|